วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

โครงการพัฒนาห้องนวดแผนไทยด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยใจ



หลักการและเหตุผล
เนื่องจากการบริการห้องนวดแผนไทยเป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยเนื่องจากเดิมห้องนวดแผนไทยเป็นสถานที่แคบ ๆ มีพนักงานจำนวนเพียง 5 คน ซึ่งในปัจจุบันมีการปรับปรุงห้องนวดขยายพื้นที่เพิ่มขึ้น แต่ยังขาดการพัฒนาในเรื่องของ บุคลากร พนักงานนวดแผนไทยในปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 13 คน มีใบประกาศนียบัตรการอบรมจากกรมฝีมือแรงงาน 420 ชั่วโมง ยังต้องมีการพัฒนาอบรมเพิ่มเติมให้เป็นมาตรฐานตามที่สาธารณสุขกำหนด แต่เนื่องจากขณะนี้หลักสูตรของการอบรมยังไม่เปิดอบรมจึงเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาซึ่งสามารถต่อยอดเพิ่มเติมจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและความรู้พื้นฐานจากหัวหน้างาน( นักกายภาพบำบัด) ในเรื่องพยาธิสภาพของโรค , กายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ และข้อควรปฏิบัติตนของผู้ป่วย
จึงเกิดเป็นโครงการพัฒนาห้องนวดแผนไทย โดยจะพัฒนา 3 ด้าน
1. ด้านสถานที่
2. ด้านบุคลากร พนักงานนวดแผนไทย
3. ด้านมาตรฐานงานตามข้อกำหนด

วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาห้องนวดแผนไทยให้เป็นมาตรฐานมากขึ้น
2. เพื่อให้เกิดการพัฒนาในด้านคน สถานที่
3. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของพนักงานนวดให้เกิดประโยชน์กับการรักษาผู้ป่วยมากที่สุด
4. เพื่อลดการเกิดความผิดพลาดของการให้บริการของการนวด

เป้าหมาย
- พัฒนาห้องนวดแผนไทยให้ก้าวหน้าทั้งด้านสถานที่ คน ให้เป็นมาตรฐานและเกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้ป่วยมากที่สุด
ระยะเวลา ก.พ. 51 - ธ.ค. 52

วิธีการดำเนินการ
1. จากการประเมินควมพึงพอใจผู้ป่วยเพื่อปรับปรุงพัฒนาหน่วยงาน
2. วางแผนในการพัฒนาปรับปรุงทั้ง 3 ด้าน
o สถานที่
o บุคลากร
o มาตรฐาน
3. ดำเนินการพัฒนาแผน
- จัดทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ เช่น 5ส - การจัดสถานที่ความเรียบร้อยของท่นอนการพับผ้า , แนวทางการปฏิบัติของการนวดแผนไทย , การแลกเปลี่ยนในเรื่อง การปวดคอ กายวิภาคศาสตร์ การแนะนำการปฏิบัติตัว




4. ประเมินผลความพึงพอใจผู้ป่วย
5. ประเมินผลความรู้ของพนักงานนวด มีการทดสอบpre-test ,post test

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ห้องนวดแผนไทยเกิดการพัฒนามากขึ้น
2. ผู้ป่วยได้รับการรักษาถูกต้องตามมาตรฐานถูกต้อง
3. บุคลากรมีการพัฒนาความรู้มากขึ้น


การพัฒนาเกิดขึ้นจากใจ เพราะพนักงานต้องเสียสละเวลาหลังเลิกงานวันอาทิตย์เพื่อมาทำกิจกรรมร่วมกัน ใช้ใจแก้ปัญหาต่าง ๆ

0 ความคิดเห็น: