วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

ข้อห้ามในการนวดแผนไทย


ข้อห้าม ข้อควรระวัง อาการแทรกซ้อน และการดูแลเบื้องต้นในการทำหัตถเวชกรรมแผนไทย

ข้อห้าม

1. มีไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียล บริเวณที่มีกระดูกแตก หัก ปริ ร้าวที่ยังไม่ติดดี

2. บริเวณที่เป็นมะเร็ง

3. ความดันโลหิตสูง(systolic สูงกว่าหรือเท่ากับ 160 mm.Hg และ/หรือ diastolic สูงกว่า หรือ เท่ากับ 100 mm.Hg ) ที่มีอาการหน้ามืด ใจสั่น ปวดศรีษะหรือคลื่นไส้อาเจียน

4. บริเวณที่เป็นแผลเปิด แผลเรื้อรัง หรือบริเวณที่มีรอยโรคผัวหนังที่สามารถติดต่อได้

5. บริเวณที่มีการบาดเจ็บภายใน 48 ชั่วโมง

6. บริเวณที่ผ่าตัดภายในระยะเวลา 1 เดือน

7. บริเวณที่มีหลอดเลือดดำอักเสบ ( DVT )

8. โรคติดเชื้อเฉียบพลัน

9. กระดูกพรุนรุนแรง

ข้อควรระวัง

1. หญิงตั้งครรภ์
2. ผู้สูงอายุ และเด็ก
3. โรคหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดแดงโป่ง หลอดเลือดอักเสบ หลอดเลือดแข็ง ( Atherosclerosis ) เป็นต้น
4. ความดันโลหิตสูง ( systolic สูงกว่าหรือเท่ากับ 160 mm.Hg และ/หรือ diastolic สูงกว่า หรือเท่ากับ100 mm.Hg )
5. เบาหวาน
6. กระดูกพรุน
7. มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด มีประวัติเลือดออกผิดปกติรวมทั้งกินยาละลายลิ่มเลือด
8. ข้อหลวม/ข้อเคลื่อน/ข้อหลุด
9. บริเวณที่มีการผ่าตัด ใส่เหล็ก หรือข้อเทียม
10. บริเวณที่แผลหายยังไม่สนิทดี
11. ผิวที่แตกง่าย
12. บริเวณที่ปลูกถ่ายผัวหนัง
อาการแทรกซ้อนและการดูแลเบื้องต้น
1.ระดับเล็กน้อย
หมายถึง ผลแทรกซ้อนที่สามารถหายได้เองภายใน 3-7 วัน และไม่ส่งผลต่อสุขภาพ ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเอง ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบัน มักเกิดจากผู้รับบริการนวดครั้งแรก การลงน้ำหนักมากเกินทน การลงน้ำหนักบริเวณใกล้ระบบประสาทอัตโนมัติตามแนวไขสันหลัง อาการดังกล่าว ได้แก่ ระบม รอยแดง รอยช้ำ มึนศรีษะ บ้านหมุน ประจำเดือนผิดปกติ